ตราสัญลักษณ์
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลไร่ใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลไร่และตำบลสามกระทาย ห่างจากที่ว่าการอำเภอกุยบุรี 17 กิโลเมตร อยู่ห่างประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 49 กิโลเมตร มีพื้นที่ 21.5 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตอำเภอกุยบุรีกับตำบลปราณบุรี ตรงจุดศูนย์กลางสามแยกศาลเจ้าต้นโพธิ์เลียบตามเส้นแบ่งเขตอำเภอกุยบุรีกับอำเภอสามร้อยอดไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่แนวเขตที่ดินของทางรถไฟสายใต้
ทิศตะวันออกจากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นขนานกับแนวเขตที่ดินทางรถไฟสายใต้ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ที่แนวเขตที่ดินทางรถไฟสายใต้
ทิศใต้จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 ตอนเพชรบุรี - ประจวบคีรีขันธ์ ฟากตะวันตกห่างจากศูนย์กลางทางสายป่าถล่ม -โป่งเก้ง จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นขนานกับแนวศูนย์กลางทางสายป่าถล่ม - โป่งเก้ง ไปทางตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งห่างจากศูนย์กลางของสามแยกที่ทางสายสหมิตรมาบรรจบกับทางสายป่าถล่ม - โป่งเก้ง ตามแนวเส้นตั้งฉากไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ทิศตะวันตกจากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของสามแยกทางสายหนองครก ทางสาย ร.พ.ช.011 และทางสายสิบแปดหุ้นบรรจบกัน จากหลักเขตที่ 7 เลียบตามแนวศูนย์กลางทางสายศาลเจ้าต้นโพธิ์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบรรจบ หลักเขตที่ 1
ลักษณะภูมิประเทศ
ทางด้านตะวันตกเป็นที่ราบเชิงเขาตะนาวศรี มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูง น้ำท่วมไม่ถึงและมีความลาดเอียงมาทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่โดยทั่วไปของชุมชนมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านชุมชนในแนวเหนือ -ใต้ ขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของชุมชน นอกจากนี้ยังมีลำห้วยขนาดเล็ก และคลองชลประทานไหลผ่าน
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไปไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป ความชื้นอากาศ ปานกลาง
- ฤดูร้อน เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูฝน เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน
- ฤดูหนาว เดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์
ลักษณะของดิน
ลักษณะดินในเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่ มีอินทรียวัตถุน้อย เนื้อดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับปลูกสับปะรด อ้อย มะม่วง ขนุน กล้วย ฯลฯ
ลักษณะของแหล่งน้ำ
เทศบาลตำบลไร่ใหม่เป็นที่ราบ จึงไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำ จากคลองชลประทาน ซึ่งรับน้ำจากเขื่อนปราณบุรีใช้ในการอุปโภค และใช้ในการเกษตรกรรม
สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ผลิตผล ทางการเกษตรที่สำคัญ คือ สับปะรด อ้อย มะม่วง มะพร้าว ขนุน ข้าว นอกจากนี้ประชาชนยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนม โคขุน สุกร เป็ด ไก่ กวาง เป็นอาชีพเสริม ประชากรดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นแบบเครือญาติ วัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ ตักบาตรในวันสำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นต้น